หล่อศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้จากการลงมือทำ







การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning by doing)





บทนำ

การลงมือทำหมายถึง ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติการจริงคือ

ผู้เรียนได้ฝึกในสภาพสิ่งแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ทั้งนี้

การสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัยและได้ผลตามความคาดหวังของสังคมนั้น

การจัดประสบการณ์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการเรียนรู้ของเด็ก จึงได้มีการศึกษาแนว

คิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ การใช้แนวคิดที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำหรือการปฏิบัติในสภาพจริง

จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้ ดังที่ประเทศไทยได้กำหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช

2542 เน้นให้มีแนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำ

การเรียนรู้โดยการลงมือทำคืออะไร?

การเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามค

วามสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ

ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง

เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน

ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียน

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีที่มาอย่างไร?

การเรียนรู้โดยลงมือกระทำมาจากปรัชญาหรือความเชื่อของปรัชญา พิพัฒนาการนิยม (Progressivism)

หรือบางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ

ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม

ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อ “การปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ”

เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด

ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองคือ

การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่จะสืบค้นหาความรู้

นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่มีความเชื่อปรัชญาการศึกษานี้คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)

เป็นผู้นำนักปราชญ์ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด

จึงมีวลีที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “Learning by doing”

“หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือ

 แนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว”

ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา

หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา

 มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ

ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ

 ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทคือ

o ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง

o และขั้นทุติยภูมิคือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง

ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นที่สอง

ปรัชญาของ จอห์น ดิวอี้ เป็นปรัชญาที่ยกย่องประสบการณ์

ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการกระทำในสถานการณ์จริง การศึกษาตามทัศนะของจอห์น ดิวอี้คือ ความเจริญ

งอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง

เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถาน

การณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ

ฝึกทักษะกระบวน การต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ ปัญหา

เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นและแก้ปัญหาเป็น

โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ บางครั้งก็เรียนวิธีสอนนี้ว่าการสอนแบบวิทยาศาสตร์

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีลักษณะอย่างไร?

การจัดการเรียนรู้โดยลงมือกระทำมีลักษณะสำคัญดังนี้

 มีจุดมุ่งหมาย มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาไปใช้ในการตัดสินใจ

 จัดการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความถนัดและความสนใจ

 ครูมีลักษณะของการเป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน

 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง ผู้เรียนได้ทดลอง ทำปฏิบัติ

สืบเสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล หาข้อสรุป และหาวิธีการกระบวนการด้วยตนเอง

 จัดหลักสูตรจะเน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร? 

การเรียนรู้โดยการลงมือทำ มีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้

 เด็กจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง

 เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ ลำตัว แขน ขา

และกล้ามเนื้อเล็กซึ่งได้แก่ นิ้วมือ

 เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทำให้เกิดเป็นประสบการณ์

 เด็กได้รู้จักการสืบค้นหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา

 เด็กจะได้เข้าใจธรรมชาติ

 เด็กจะเกิดความคิดสร้างสรรค์

 เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว

 เด็กได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น

 เด็กจะได้พัฒนาวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ รวมทั้งรับรู้ลักษณะอารมณ์แต่ละชนิด เช่น ชอบกลิ่นหอม

แต่ไม่ชอบกลิ่นเหม็น ไม่ชอบเดินเท้าเปล่าเหยียบก้อนหินที่แข็งหยาบ

แต่จะรู้สึกชอบเดินบนพรมที่อ่อนนุ่นสบายฝ่าเท้า ไม่ชอบเสียงดนตรีที่แผดเสียงดัง

แต่ชอบเสียงดนตรีบรรเลงเพลงเบาๆ เป็นต้น

 เด็กจะได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้คิดและเข้าใจความเป็นเหตุผล


                                            



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น